อบรมโครงการเชิงปฏิบัติการ
เรื่องการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ
เพื่อพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพิเศษ
1. ความเป็นมาและความสำคัญ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.๒๕๕๒และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่๒)พ.ศ.๒๕๔๕ ได้ระบุไว้ในมาตรา ๑๐ วรรคสองว่า”
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้
หรือมีร่างกายทุพพลภาพหรือบุคคลที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาสต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ”รวมทั้งพระราชบัญญัติการศึกษาสำหรับคนพิการพ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๕ วรรคสองและวรรคสามได้เน้นย้ำถึงสิทธิของคนพิการด้านการศึกษาว่า”ในการเลือกบริการทางการศึกษา
สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยนึกถึงความสามรถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น
ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้การทดสอบทางการศึกษาที่เหมาะสม และมาตรา ๖ วรรคสอง กำหนดว่า”ให้ครูทางการพิเศษ
ครู และคณาจารย์ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ
องค์ความรู้
การศึกษาอย่างต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษา สำหรบคนพิการ”
คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับผู้พิการ
จึงได้ประกาศหลัดเกณฑ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู
และคณาจารย์ไดรับการส่งเสริมและพัฒนาในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.๒๕๕๒
ปัจจุบัน
การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนทั่ว จำนวน ๑๘,๓๗๐โรง จำนวนนักเรียน ๒๔๖,๓๓๓ คน
สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ศูนย์การศึกษาพิเศษนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ๒๓๖ อำเภอ ใน ๕๕ จังหวัด ครู ๖๖๕ คน นักเรียน๑๑,๔๗๖ คน
สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โรงเรียนเอกชน จำนวน ๖๖๐ โรงเรียน ใน ๗๗ จังหวัด
นักเรียน ๔,๗๒๓ คน
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนและพัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทย ใน ๗๗ จังหวัด
เนื่องจากการจัดการศึกษาพิเศษต้องดำเนินการจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากการจัดการศึกษาสำหรับเด็กทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคนิค วิธีการสอน สื่อ/วัสดุ
อุปกรณ์ การวัดและการประเมินผล
รวมทั้งความช่วยเหลืออื่นใดที่เกี่ยวข้อง
ที่ต้องจัดให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของเด็กแต่ละคน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่ไม่มีทักษะพื้นฐานในการช่วยเหลือตนเอง ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน มีปัญหาด้านความสามารถในการสื่อสาร
ทั้งด้านการใช้ภาษา ท่าทาง ภาษาพูด จิตนาการ พฤติกรรมและอารมณ์
หรือสภาพปัญหาทางครอบครัว
สังคมที่เกี่ยวข้อง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาครู
บุคคลากรทางการศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน
เสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนด
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน โยการดำเนินงานของสำนักบริหารการศึกษาพิเศษ
จึงเห็นความจำเป็นในการพัฒนาครูและบุคคลากรทางการศึกษาพิเศษทั้งระบบเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
สังกัดสำนักบริหารการศึกษาพิเศษ
สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ให้สามารถดำเนินการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เกิดประสิทธิผลพร้อมทั้งมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
จึงกำหนดให้มีโครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาพิเศษทั้งระบบ เพื่อให้ครูและบุคคลากรทางการศึกษามีความแม้นยำและชัดเจนในการพัฒนาศักยภาพเด็ก
เพื่อพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
สังกัดสำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กระทรวงมหาดไทยสามารถให้บริการทางการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
3. กลุ่มเป้าหมาย
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน ๓
สังกัด จำนวน ๖๐๐ คน
๓.๑ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน ๒๓๖ คน(กศน.อำเภอๆละ ๑ คน)
๓.๒ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน ๑๕๔
คน (๗๗ จังหวัดๆละ ๒ คน)
๓.๓
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จำนาน ๑๕๔ คน(๗๗จังหวัดๆละ
๒ คน)
หลักสูตรสำหรับข้าราชการครูและบุลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และ
สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ
เพื่อพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพิเศษ จัดอบรมรุ่นละ ๕ วัน(อบรม
๘ รุ่น ผู้เข้าอบรม ๖๐๐ รุ่นละ ๗๕ คน,คณะทำงาน ๑๐ คน,วิทยากร ๑๐ คน)
วิชาพื้นฐาน จัดอบรม ๒ วัน ประกอบด้วย
๑.
การอบรมเรื่อง
การคัดกรองวินิจฉัยนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา
๒.
การอบรมเรื่อง
การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP)
และกาจัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล(IIP)
๓.
การอบรมเรื่อง
ระบบคูปองการศึกษาและการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา
๔.
การอบรมเรื่อง การเปลี่ยนผ่านและการส่งต่อ
วิชาเฉพาะ จัดอบรม ๓ วัน ประกอบด้วย
๑.
การอบรมเรื่อง
การสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว
๒.
การอบรมเรื่อง
การแก้ไขการพูดและทักษะการสื่อสาร(บริการฝึกทักษะการสื่อสาร) สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
๓.
การอบรมเรื่อง
การแก้ไขการพูดและทักษะการสื่อสาร(บริการฝึกพูดโดยครู)
๔.
การอบรมเรื่อง การปรับพฤติกรรมเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา (เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและออทิสติก)
๕.
การอบรมเรื่อง
การแก้ไขการพูดและทักษะการสื่อสาร(บริการฝึกทักษะการสื่อสาร) สำหรับบุคคลออทิสติก
๖.
การอบรมเรื่อง
ทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
๗.
การอบรมเรื่อง ภาษามือไทย ระดับ ๑
๘.
การอบรมเรื่อง การบำบัดแบบองค์รวม
การอบรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความรู้
ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับ คนพิการ ดร.ปนัดดา
วงศ์จันตา
รองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษส่วนกลางมาให้ความรูเกี่ยวกับการจัดทำแผน IEPและIIP วิทยากรทางการแพทย์ให้ความรู้เกี่ยวกับการบำบัดฟื้นฟูเด็กพิเศษให้ผู้เข้าอบรมและนอกจากด้านวิชาการแล้วยังมีเจตนาคือให้ทุกคนได้มารู้จักกัน
มีความสามัคคี สามารถปรึกษาหารือเมื่อเกิดปัญหา
ท้ายสุด
นายพะโยม ชินวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กล่าวว่า เพื่อให้คนพิการได้รับโอกาสความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันและได้รับความช่วยเหลือทางการศึกษาอย่างทั่วถึง
พร้อมทั้งกลุ่มเป้าหมายพิเศษสามารถช่วนเหลือตนเองได้และสามารถเรียนต่อในระดับที่ต้องการได้ต่อไป
ส่วนที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติ
การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา
๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
พ.ศ. ๒๕๕๑”
มาตรา
๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา
๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“คนพิการ” หมายความว่า
บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม
เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ
อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้
หรือความบกพร่องอื่นใดประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ
และมีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด
เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป
ทั้งนี้ ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด
“ผู้ดูแลคนพิการ”
หมายความว่า บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุตร สามี ภรรยา ญาติ
พี่น้องหรือบุคคลอื่นใดที่รับดูแลหรือรับอุปการะคนพิการ
“แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล”
หมายความว่า แผนซึ่งกำหนดแนวทางการ จัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ
ตลอดจนกำหนดเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ
และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาเฉพาะบุคคล
“เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก”
หมายความว่า เครื่องมือ อุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์หรือบริการที่ใช้สำหรับคนพิการโดยเฉพาะ
หรือที่มีการดัดแปลงหรือปรับใช้ให้ตรงกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละบุคคล
เพื่อเพิ่ม รักษา คงไว้ หรือพัฒนาความสามารถและศักยภาพที่จะเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร
การสื่อสาร รวมถึงกิจกรรมอื่นใดในชีวิตประจำวันเพื่อการดำรงชีวิตอิสระ
“ครูการศึกษาพิเศษ” หมายความว่า ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษสูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไป
และปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
“การเรียนร่วม” หมายความว่า
การจัดให้คนพิการได้เข้าศึกษาในระบบการศึกษาทั่วไปทุกระดับและหลากหลายรูปแบบ
รวมถึงการจัดการศึกษา
ให้สามารถรองรับการเรียนการสอนสำหรับคนทุกกลุ่มรวมทั้งคนพิการ
“สถานศึกษาเฉพาะความพิการ”
หมายความว่า
สถานศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ
ทั้งในลักษณะอยู่ประจำ ไป กลับ และรับบริการที่บ้าน
“ศูนย์การศึกษาพิเศษ” หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษานอกระบบ
หรือตามอัธยาศัยแก่คนพิการ ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการจนตลอดชีวิต
และจัดการศึกษาอบรมแก่ผู้ดูแลคนพิการ ครู บุคลากรและชุมชน รวมทั้งการจัดสื่อ
เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก บริการและความช่วยเหลืออื่นใด
ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในประกาศกระทรวง
“ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ”
หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบ
หรือตามอัธยาศัยแก่คนพิการโดยเฉพาะ โดยหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว
ชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์
สถานสงเคราะห์และสถาบันทางสังคมอื่นเป็นผู้จัด ตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัย
การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษาและหลักสูตรระยะสั้น
“องค์การคนพิการแต่ละประเภท”
หมายความว่า
องค์กรสมาชิกระดับชาติตามประเภทความพิการที่ได้แจ้งชื่อไว้กับสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
“คณะกรรมการ”
หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
“กองทุน”
หมายความว่า กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ
“รัฐมนตรี”
หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง
ระเบียบหรือประกาศเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวง
ระเบียบหรือประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑
สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
มาตรา
๕ คนพิการมีสิทธิทางการศึกษาดังนี้
(๑)
ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิต
พร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ
บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
(๒) เลือกบริการทางการศึกษา
สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ
ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น
(๓)
ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา
รวมทั้งการจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล
มาตรา ๖
ให้ครูการศึกษาพิเศษในทุกสังกัดมีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษตามที่กฎหมายกำหนด
ให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู
และคณาจารย์ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ
องค์ความรู้การศึกษาต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา
๗ ให้สถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดการเรียนร่วม
สถานศึกษาเอกชนการกุศลที่จัดการการศึกษาสำหรับคนพิการโดยเฉพาะ
และศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานได้รับเงินอุดหนุนและความช่วยเหลือเป็นพิเศษจากรัฐ
หลักเกณฑ์และวิธีการในการรับเงินอุดหนุนและความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๘ ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
โดยให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ และต้องมีการปรับปรุงแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศกระทรวง
สถานศึกษาในทุกสังกัดและศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการอาจจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทั้งในระบบ
นอกระบบ และตามอัธยาศัย ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งการเรียนร่วม การจัดการศึกษาเฉพาะความพิการ
รวมถึงการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ
การพัฒนาศักยภาพในการดำรงชีวิตอิสระการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็น การฝึกอาชีพ
หรือการบริการอื่นใด
ให้สถานศึกษาในทุกสังกัดจัดสภาพแวดล้อม
ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนบริการเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ
บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
ที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้
ให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในทุกสังกัด
มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสม ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษา
ให้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย
ให้สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนผู้ดูแลคนพิการและประสานความร่วมมือจากชุมชนหรือนักวิชาชีพเพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาทุกระดับ
หรือบริการทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ
มาตรา ๙ ให้รัฐจัดเงินอุดหนุนเพื่อส่งเสริมการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
และการพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ ความเข้าใจ
ทักษะและความสามารถในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ให้รัฐจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาอื่นเป็นพิเศษให้เหมาะสม
และสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการและสถานศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
มาตรา ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ให้ราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ข้อกำหนด ระเบียบหรือประกาศ
แล้วแต่กรณี ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๒
การส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
มาตรา
๑๑ ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ประกอบด้วย
(๑)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ
(๒)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง
และผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นคนพิการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง
(๓) กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวนสิบคน
ได้แก่ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบดีกรมการแพทย์
อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
(๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
จำนวนสิบสามคน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ
ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงในด้านการบริหารการศึกษา ด้านการศึกษาสำหรับคนพิการ
ด้านกฎหมาย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและด้านสังคมสงเคราะห์
ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านรวมกัน ทั้งนี้
อย่างน้อยเจ็ดคนต้องมาจากองค์การคนพิการแต่ละประเภท
ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นเลขานุการ
และให้แต่งตั้งข้าราชการในสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา
๑๒ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์
แผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
แผนการจัดสรรทรัพยากรและแนวทางการพัฒนาการบริหารและการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทุกระบบและทุกระดับต่อคณะรัฐมนตรี
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่
(๒) เสนอความเห็นและให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดหลักสูตร
การกำหนดมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา
การประเมินและการทดสอบทางการศึกษาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ
รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ การได้มาและจำนวนเงินค่าตอบแทนพิเศษของครูการศึกษาพิเศษ
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ
(๓)
พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนการใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการของหน่วยงานในทุกสังกัดที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
รวมทั้งอนุมัติโครงการหรือแผนงานที่จะใช้เงินกองทุนในส่วนที่เกินกว่าอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกองทุน
(๔) วางระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ
คำสั่ง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ การอุดหนุนทางการศึกษา
การจัดสรรเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการของสถานศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ
(๕)
ส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือกิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการการศึกษาสำหรับคนพิการ
รวมทั้งสนับสนุนโครงการเพื่อสิทธิทางการศึกษาของคนพิการ
(๖)
ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างบูรณาการ
รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์ให้มีองค์ความรู้
การศึกษาต่อเนื่อง และทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
(๗)
วางระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุน
โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังตามมาตรา ๒๓ (๑)
(๘)
วางระเบียบเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน
เพื่อการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการตามมาตรา ๒๓ (๒)
(๙)
วางระเบียบเกี่ยวกับการจัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนตามมาตรา ๒๓ (๓)
(๑๐)
วางระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินกองทุน
การตัดหนี้เป็นสูญโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังตามมาตรา ๒๔
(๑๑)
วางระเบียบเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐาน ให้การรับรอง
หรือเพิกถอนการรับรองแก่สถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดการเรียนร่วม
สถานศึกษาเอกชนการกุศลที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ และศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ
(๑๒)
ปฏิบัติงานอื่นตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่กฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
มาตรา
๑๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี
และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง
ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ภายในหกสิบวัน
ในระหว่างที่ยังไม่ได้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
มาตรา ๑๔ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๔)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
(๖)
รัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่ หรือมีความประพฤติเสื่อมเสีย
มาตรา ๑๕ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ
รัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง
และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลืออยู่ไม่ถึงหกสิบวันจะไม่ดำเนินการเพื่อให้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้
มาตรา
๑๖ การประชุมของคณะกรรมการ
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมครั้งใดถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้รองประธานกรรมการตามลำดับเป็นประธานในที่ประชุม
หากรองประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ทั้งหมด
ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา
๑๗ คณะกรรมการอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
การประชุมของคณะอนุกรรมการ
ให้นำมาตรา ๑๖ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา
๑๘ ให้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทำหน้าที่เกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการ
รวมทั้งให้มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในสถานศึกษา
รวมทั้งประเมินและรายงานผลต่อคณะกรรมการ
(๒)
สนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดการเรียนร่วมแก่คนพิการในเขตพื้นที่รับผิดชอบอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
(๓)
วิจัย และพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของคนพิการ
(๔) ผลิต
วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
(๕)
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสรรเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
(๖)
ดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการของกองทุน
(๗)
ส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานทางการศึกษาสามารถผลิต
และพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
(๘)
ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ
สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
(๙)
ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้สามารถจัดการศึกษาสำหรับคนพิการให้สอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา
ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสนับสนุน
กำกับ ดูแล
ให้สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษให้เป็นไปตามนโยบาย
แนวทาง และแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรา ๑๙ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มีหน้าที่ดำเนินการจัดการศึกษาโดยเฉพาะการจัดการเรียนร่วม การนิเทศ กำกับ ติดตาม
เพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามที่กฎหมายกำหนด
เพื่อให้การดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ตามวรรคหนึ่ง
ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้การสนับสนุนทรัพยากร องค์ความรู้
และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มาตรา
๒๐ ให้สถานศึกษาเฉพาะความพิการของรัฐมีหน้าที่จัดการศึกษาตามภารกิจแก่คนพิการ
โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคล
หมวด ๓
กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ
มาตรา
๒๑ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้น
เรียกว่า “กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ”
ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้จ่ายในการส่งเสริมสนับสนุน
และพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง โดยกองทุนประกอบด้วย
(๑)
เงินและทรัพย์สินที่โอนมาจากเงินกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖
(๒)
เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
(๓)
เงินอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๔)
เงินรายได้ที่ได้จากการออกสลากหรือการจัดกิจกรรม
(๕)
ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
(๖)
เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้
(๗)
รายได้บางส่วนจากภาษีของสินค้าและบริการที่เป็นสาเหตุแห่งความพิการตามที่กฎหมายกำหนด
มาตรา ๒๒ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนคณะหนึ่ง
ประกอบด้วย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นประธานกรรมการ
รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง
ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้แทนองค์การคนพิการหนึ่งคนเป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง
ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้แทนกระทรวงการคลัง
ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงบประมาณ
ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจำนวนสิบเอ็ดคน
ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้แทนองค์การคนพิการแต่ละประเภทอย่างน้อยเจ็ดคนเป็นกรรมการ
และให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษเป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา
๒๓ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนมีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑)
บริหารกองทุน รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการลงทุน
การหาประโยชน์และการจัดการกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
(๒)
พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน เพื่อการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
(๓)
รายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนต่อคณะกรรมการตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
(๔)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนมอบหมาย
มาตรา
๒๔ การรับเงิน
การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินกองทุน
และการตัดหนี้เป็นสูญให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
มาตรา
๒๕ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนจัดทำงบการเงินส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีทุกปี
ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนทุกรอบปีแล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการ
มาตรา
๒๖ ให้นำบทบัญญัติมาตรา
๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖มาใช้บังคับกับการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง
การแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่าง และการประชุมของคณะกรรมการบริหารกองทุนโดยอนุโลม
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๒๗ เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว
ให้โอนบรรดาเงิน ทรัพย์สิน
สิทธิหนี้ของกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ไปเป็นของกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
ในระหว่างที่ยังไม่มีระเบียบว่าด้วยการบริหารกองทุนตามมาตรา
๑๒ ให้นำระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารกองทุนการศึกษาสำหรับคนพิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖
ใช้ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้มีระเบียบว่าด้วยการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้
ต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๒๘ ในวาระเริ่มแรกที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ให้คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖ ทำหน้าที่จนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการตามพระราชบัญญัตินี้
ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๒๙ ให้ครูหรือบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านการอบรมวุฒิบัตรครูการศึกษาพิเศษตามหลักสูตรที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอนุมัติก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้เป็นครูการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัตินี้
ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ผู้ที่ผ่านการอบรมวุฒิบัตรครูการศึกษาพิเศษตามหลักสูตรที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอนุมัติ
มีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นครูการศึกษาพิเศษตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลทั่วไป
จึงจำเป็นต้องจัดให้คนพิการมีสิทธิและโอกาสได้รับการบริการและความช่วยเหลือทางการศึกษาเป็นพิเศษตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ
ดังนั้น เพื่อให้การบริการและการให้ความช่วยเหลือแก่คนพิการในด้านการศึกษาเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกระบบและทุกระดับการศึกษา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
เรื่อง
กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๕๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓ และมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
จึงออกประกาศกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒”
ข้อ ๒ ประเภทของคนพิการ มีดังต่อไปนี้
(๑)
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น
(๒)
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
(๓)
บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
(๔)
บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ
(๕)
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
(๖)
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
(๗)
บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม หรืออารมณ์
(๘)
บุคคลออทิสติก
(๙)
บุคคลพิการซ้อน
ข้อ ๓
การพิจารณาบุคคลที่มีความบกพร่องเพื่อจัดประเภทของคนพิการ
ให้มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น ได้แก่ บุคคลที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงตาบอดสนิท
ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภทดังนี้
(๑.๑) คนตาบอด หมายถึง
บุคคลที่สูญเสียการเห็นมาก
จนต้องใช้สื่อสัมผัสและสื่อเสียงหากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้ว
อยู่ในระดับ ๖ ส่วน ๖๐ (๖/๖๐) หรือ ๒๐ ส่วน ๒๐๐(๒๐/๒๐๐)
จนถึงไม่สามารถรับรู้เรื่องแสง
(๑.๒)
คนเห็นเลือนราง หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็น
แต่ยังสามารถอ่านอักษรตัวพิมพ์ขยายใหญ่ด้วยอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ
หรือเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
หากวัดความชัดเจนของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับ ๖ ส่วน ๑๘ (๖/๑๘) หรือ
๒๐ ส่วน ๗๐(๒๐/๗๐)
(๒)
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ได้แก่
บุคคลที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับหูตึงน้อยจนถึงหูหนวก ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภท
ดังนี้
(๒.๑)
คนหูหนวก หมายถึง
บุคคลที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถเข้าใจการพูดผ่านทางการได้ยินไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เครื่องช่วยฟัง
ซึ่งโดยทั่วไปหากตรวจการได้ยินจะมีการสูญเสียการได้ยิน ๙๐ เดซิเบลขึ้นไป
(๒.๒) คนหูตึง หมายถึง
บุคคลที่มีการได้ยินเหลืออยู่เพียงพอที่จะได้ยินการพูดผ่านทางการได้ยิน
โดยทั่วไปจะใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งหากตรวจวัดการได้ยินจะมีการสูญเสียการได้ยินน้อยกว่า
๙๐ เดซิเบลลงมาถึง ๒๖ เดซิเบล
(๓)
บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้แก่
บุคคลที่มีความจำกัดอย่างชัดเจนในการปฏิบัติตน(Functioning) ในปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือ ความสามารถทางสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์
เฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญร่วมกับความจำกัดของทักษะการปรับตัวอีกอย่างน้อย ๒ ทักษะจาก
๑๐ ทักษะได้แก่ การสื่อความหมายการดูแลตนเอง การด
ารงชีวิตภายในบ้านทักษะทางสังคม/การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
การรู้จักใช้ทรัพยากรในชุมชน
การรู้จักดูแลควบคุมตนเอง การน า ความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน การทำงาน
การใช้เวลาว่าง การรักษาสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย
ทั้งนี้ได้แสดงอาการดังกล่าวก่อนอายุ ๑๘ ปี
(๔)
บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ ซึ่งแบ่งเป็น๒
ประเภท ดังนี้
(๔.๑)
บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว ได้แก่
บุคคลที่มีอวัยวะไม่สมส่วนหรือขาดหายไป
กระดูกหรือกล้ามเนื้อผิดปกติมีอุปสรรคในการเคลื่อนไหวความบกพร่องดังกล่าวอาจเกิดจากโรคทางระบบประสาท
โรคของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกการไม่สมประกอบ มาแต่กำเนิด อุบัติเหตุและโรคติดต่อ
(๔.๒)
บุคคลที่มีความบกพร่องทางสุขภาพ ได้แก่
บุคคลที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังหรือมีโรคประจำตัวซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
และเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ซึ่งมีผลทำให้เกิดความจำเป็นต้องได้รับการศึกษาพิเศษ
(๕)
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้แก่ บุคคลที่มีความผิดปกติในการทำงานของสมองบางส่วนที่แสดงถึงความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้ที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน
คือ การอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ
ซึ่งไม่สามารถเรียนรู้ในด้านที่บกพร่องได้ทั้งที่มีระดับสติปัญญาปกติ
(๖)
บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา ได้แก่
บุคคลที่มีความบกพร่องในการเปล่งเสียงพูด
เช่นเสียงผิดปกติอัตราความเร็วและจังหวะการพูดผิดปกติหรือบุคคลที่มีความบกพร่อง
ในเรื่องความเข้าใจหรือการใช้ภาษาพูด
การเขียนหรือระบบสัญลักษณ์อื่นที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจเกี่ยวกับรูปแบบ
เนื้อหาและหน้าที่ของภาษา
(๗)
บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม หรืออารมณ์ได้แก่
บุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติเป็นอย่างมาก
และปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องหรือความผิดปกติทางจิตใจหรือสมองในส่วนของการรับรู้อารมณ์หรือความคิดเช่น
โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรคสมองเสื่อม เป็นต้น
(๘)
บุคคลออทิสติก ได้แก่
บุคคลที่มีความผิดปกติของระบบการทำงานของสมองบางส่วนซึ่งส่งผลต่อความบกพร่องทางพัฒนาการด้านภาษา
ด้านสังคมและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และมีข้อจำกัดด้านพฤติกรรม
หรือมีความสนใจจำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยความผิดปกตินั้นค้นพบได้ก่อนอายุ
๓๐ เดือน
(๙)
บุคคลพิการซ้อน ได้แก่ บุคคลที่มีสภาพความบกพร่องหรือความพิการมากกว่า
หนึ่งประเภทในบุคคลเดียวกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ว่าด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ
พ.ศ. ๒๕๕๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๒ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.๒๕๕๑
คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “
ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ว่าด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒”
ข้อ
๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในระเบียบนี้
“สถานศึกษา” หมายความว่า
สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งของรัฐและเอกชน
“ส่วนราชการ” หมายความว่า
หน่วยงานตั้งแต่ระดับกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่มีสถานศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษาที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า
คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
“กองทุน” หมายความว่า
กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ
ข้อ ๔
ให้สถานศึกษามีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการตามภารกิจของสถานศึกษานั้น
โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ข้อ ๕
ในกรณีที่สถานศึกษาใดปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษาโดยไม่มีเหตุผลและความจำเป็นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
ให้ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
หากสถานศึกษาใดมีข้อโต้แย้งหรือมีปัญหาในทางปฏิบัติ ที่จำเป็น
ให้สถานศึกษานั้นเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเป็นรายไป
ข้อ ๖
เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ ให้สถานศึกษาซึ่งได้รับ
คนพิการเข้าศึกษา มีการดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑)
จัดระบบหรือรูปแบบที่สนับสนุนการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ
ความถนัด และความจำเป็นพิเศษตามประเภทของคนพิการทางการศึกษา
(๒)
จัดสภาพแวดล้อม ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน ตลอดจนบริการสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก
สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาที่คนพิการสามารถเข้าถึง
และใช้ประโยชน์ได้
ข้อ ๗ ในการจัดทำหลักสูตร
กระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา การวัดและประเมินผลการศึกษา
ให้สถานศึกษาและส่วนราชการที่รับผิดชอบดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพ
ความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภท ตามรูปแบบ หลักเกณฑ์
และวิธีการที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
หรือตามที่สถานศึกษาเห็นสมควร
ข้อ ๘
ในกรณีที่คนพิการซึ่งมีอุปสรรคและมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือ
ในการเดินทางเพราะเหตุแห่งความพิการนั้น
ให้สถานศึกษาหรือส่วนราชการที่รับผิดชอบจัดบริการ
สำหรับการเดินทาง ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
หากเงินอุดหนุนของสถานศึกษาไม่เพียงพอ
ให้สถานศึกษาขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหรือส่วนราชการต้นสังกัดของสถานศึกษานั้นได้
ข้อ ๙ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ
ให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาเป็นกรณีพิเศษแก่สถานศึกษา
ทั้งนี้ตามความเหมาะสม
และสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการ
ข้อ ๑๐ ให้ส่วนราชการต้นสังกัดของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ
รายงานผลการดำเนินงานในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒
(นายจุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธานกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ. ๒๕๕๒
อาศัยอำนาจตามมาตรา ๔ และมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้เรียกว่า
“ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๒”
ข้อ
๒ การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
ให้มีองค์ประกอบของแผนตามข้อ ๓ และกระบวนการจัดทำแผนตามข้อ ๔
ข้อ ๓ องค์ประกอบของแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล ประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้
(๑)
ข้อมูลทั่วไป เช่น วัน เดือน ปีเกิด ประเภทความพิการ ชื่อตัว
ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้เรียน
บิดา มารดา ผู้ปกครอง เป็นต้น
(๒) ข้อมูลด้านการแพทย์ หรือด้านสุขภาพ
(๓)
ข้อมูลด้านการศึกษา
(๔)
การกำหนดแนวทางการศึกษาและการวางแผนการจัดการศึกษาพิเศษ
(๕) ความต้องการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
(๖) คณะกรรมการจัดทำแผน
(๗) ความเห็นของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้เรียน
(๘) ข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็น
(๑)
จัดประเมินระดับความสามารถและความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
(๒) กำหนดเป้าหมายระยะยาว ๑ ปี
เป้าหมายระยะสั้น หรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
(๓)
ประเมินความต้องการจำเป็นของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
(๔) กำหนดกระบวนการเรียนรู้และปัจจัยที่มีความต้องการจำเป็นทางการศึกษา
(๕)
กำหนดรูปแบบ
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ข้อ
๕ ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล สำหรับผู้เรียนแต่ละคนโดยมีกรรมการไม่น้อยกว่า
๓ คน ซึ่งประกอบด้วย
(๑)
ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้แทน
(๒) บิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครอง
หรือผู้ดูแลคนพิการ
(๓)
ครูประจำชั้น
หรือครูแนะแนว หรือครูการศึกษาพิเศษ หรือครูที่รับผิดชอบงาน
ด้านการศึกษาพิเศษที่ผู้บริหารสถานศึกษามอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ
ในกรณีที่สถานศึกษาใดมีนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความพิการ
สถานศึกษานั้น
อาจแต่งตั้งให้นักวิชาการดังกล่าวเข้าร่วมเป็นกรรมการเพิ่มเติมด้วยก็ได้
ข้อ ๖
ให้คณะกรรมการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
ประชุมเพื่อจัดทำแผน ตามข้อ ๒ แล้วนำแผนไปสู่การปฏิบัติ กำกับ
ติดตามผลการดำเนินงานตามแผน รวมทั้งจัดประชุมเพื่อประเมิน ทบทวน และปรับแผน พร้อมจัดทำรายงานผลปีละ ๒ ครั้ง
ข้อ ๗ ในการส่งต่อผู้เรียนที่จบการศึกษาแต่ละระดับ
หรือย้ายสถานศึกษาให้สถานศึกษานำส่งแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
รายงานผลการประเมิน การดำเนินการตามแผน แฟ้มประวัติและแฟ้มสะสมผลการเรียนของผู้เรียน เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการศึกษาต่อไป
ประกาศ ณ
วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู
และคณาจารย์ ได้รับการส่งเสริม
และพัฒนาศักยภาพในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
พ.ศ. ๒๕๕๒
_________________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖ วรรคสอง และมาตรา ๑๒ (๖) แห่งพระราชบัญญัติ
การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑
คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
จึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การให้ครูการศึกษาพิเศษ ครูและคณาจารย์
ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ องค์ความรู้
การศึกษาต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการเรื่อง
หลักเกณฑ์การให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์
ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการ จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๒”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในประกาศนี้
“สถานศึกษา” หมายความว่า
สถานศึกษาที่จัดการศึกษาในทุกระดับหรือหน่วยงานการศึกษาอื่นทั้งของรัฐและเอกชนที่มีคนพิการเข้าเรียนหรือที่พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาสำหรับคนพิการ
“ครูการศึกษาพิเศษ” หมายความว่า ครูที่มีวุฒิทางการศึกษาพิเศษสูงกว่าระดับปริญญาตรีขึ้นไป
และปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
“ครู” หมายความว่า
บุคคลากรซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ
ในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา
“คณาจารย์” หมายความว่า
บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยทางด้านการศึกษาพิเศษในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญา
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ข้อ ๔ ให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์
ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ
องค์ความรู้ การศึกษาต่อเนื่องและทักษะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ได้รับการฝึกอบรมหรือพัฒนาให้มีทักษะเฉพาะในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
แต่ละประเภท อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(๒)
ได้รับการพัฒนาศักยภาพตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพอย่างน้อยสามปี ต่อครั้ง
(๓)
ส่งเสริมและสนับสนุน
ให้ได้รับการศึกษาต่อเนื่องทางด้านการศึกษาพิเศษหรือพัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษาพิเศษที่สูงกว่าระดับปริญญาตรี
(๔)
ส่งเสริมและพัฒนาด้านอื่นๆ
ตามความเหมาะสมและความจำเป็นในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
การดำเนินการตามข้อ ๔ ให้มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
การฝึกอบรมหรือพัฒนาให้มีทักษะเฉพาะในการจัดการศึกษาตาม (๑) ของข้อ ๔
ต้องเป็นหลักสูตรกลางที่คณะกรรมการได้กำหนดไว้ตามความเหมาะสมและมีลักษณะเฉพาะเพื่อคนพิการ
แต่ละประเภท
และสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำหลักสูตรกลางดังกล่าวไปใช้การฝึกอบรมหรือพัฒนานั้น ในการนี้
หากคณะกรรมการเห็นว่าสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใดได้กำหนดหลักสูตรขึ้นเองมีความเหมาะสม
คณะกรรมการก็สามารถให้ความเห็นชอบและถือเป็นหลักสูตรที่ใช้ฝึกอบรมหรือพัฒนานั้นได้
(๒)
การพัฒนาศักยภาพตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพตาม (๒) ของข้อ ๔
ต้องเป็นหลักสูตรซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการฝึกอบรมเป็นการเฉพาะ
โดยหลักสูตรนั้นจะต้องมีลักษณะตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพการศึกษาพิเศษ
ซึ่งมีจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์รวมทั้งโครงสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมที่ประกอบด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตลอดจน มีการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรนั้น
(๓)
การส่งเสริมและสนับสนุนให้ได้รับการศึกษาต่อเนื่องที่สูงกว่าระดับปริญญาตรี ตาม
(๓) ของข้อ ๔ ต้องเป็นการศึกษาที่มีการกำหนดประเภทของทุน สาขาวิชาที่จะศึกษา
สถานศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ และระยะเวลาการศึกษา
(๔)
การส่งเสริมและพัฒนาด้านอื่นๆ ตาม (๔) ของข้อ ๔ ต้องมีจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
รวมทั้งผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการดำเนินการดังกล่าว
ข้อ ๖ การพัฒนาศักยภาพครูการศึกษาพิเศษ ครู และคณาจารย์
ให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานต้นสังกัดร่วมกับหน่วยงาน สถาบัน หรือมหาวิทยาลัย
ซึ่งมีรูปแบบและวิธีการในการพัฒนาศักยภาพเพื่อให้ครูการศึกษาพิเศษ ครู
และคณาจารย์ดังกล่าวสามารถนำไปจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
ให้มีประสิทธิภาพและมาตรฐานยิ่งขึ้น
ข้อ ๗ การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครูการศึกษาพิเศษ
ครู และคณาจารย์ ให้ส่วนราชการหน่วยงานต้นสังกัด
หรือกองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ สนับสนุนงบประมาณ ให้เหมาะสมและเพียงพอ
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒
(นายจุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประธานกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิกา